วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงงานทางประวัติศาสตร์ เรื่อง เงือกทอง ณ แหลมสมิหลา

โครงงานทางประวัติศาสตร์
เรื่อง เงือกทอง ณ แหลมสมิหลา

คณะผู้จัดทำโครงการ
1.นางสาวลัดดาวัลย์ จรเอียด เลขที่ 2 ชั้น ม.5/8
2.นางสาวอิสรีย์ สุขเพ็ง เลขที่ 3 ชั้น ม.5/8
3.นางสาวธนัชชา เศาธยะนันท์ เลขที่ 21 ชั้น ม.5/8
4.นางสาวฟารีดา วะคีมัน เลขที่ 26 ชั้น ม .5/8
เสนอ
อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา

**********************************************

ที่มาและเหตุผล
นาง เงือกทอง เป็นสัญลักษณ์ของหาดสมิหลา ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา และนอกจากนั้นยังมีประวัติที่น่าสนใจซึ่งเกี่ยวข้องกับหาดสมิหลา ผู้จัดทำจึงได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับนางเงือกและประวัติความเป็นมาของ การสร้างประติมากรรม ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสงขลาและเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ศึกษามา เผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจนำไปศึกษาต่อไปได้

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.เพื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์โดยใช้ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นแนวทางใน การศึกษา
2.เพื่อทราบประวัติความเป็นมาและจุดมุ่งหมายของการสร้างประติมากรรมนางเงือก
3. เพื่อทราบประวัติความเป็นมาของนางเงือกโดยทั่วไป
4. เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจและต้องการจะนำไปศึกษาต่อ

วิธีการดำเนินงาน
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย: กำหนดหัวข้อเรื่องซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ “ประติมากรรมนางเงือก” บริเวณหาดสมิหลาและแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล: รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจพื้นที่บริเวณประติมากรรมนางเงือก ถ่ายรูป และจดบันทึกข้อมูลที่ได้ศึกษาจากพื้นที่จริง
และหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน: ตรวจสอบข้อมูลที่หาได้จากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกว่าถูกต้องหรือไม่
ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและตีความข้อมูล: เมื่อ หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประติมากรรมนางแล้วจึงนำมาวิเคราะห์อีกทีหนึ่ง เพื่อเลือกว่าจะนำเสนอส่วนใดบ้างและเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนที่ขาดไป
ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลงาน

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.) สมุดจด
2.) กล้องถ่ายรูป
3.) ปากกา ดินสอ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้นำขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาประติมากรรมนางเงือก
2.ทราบประวัติความเป็นมาของการสร้างประติมากรรมนางเงือก
3.ทราบประวัติความเป็นมาของนางเงือกทั่วไป
4.ผู้ที่นำไปศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้จริง



ประติมากรรมนางเงือก





แหลมสมิหลา หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหลมหิน อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดทรัพย์สิน(ตลาดสดเทศบาล)ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร อยู่ห่างจาก บน.๕๖ฯ ประมาณ ๔๐ กม.มีหาดทรายขาวสะอาด ทิวสนร่มรื่น ชายทะเลเมืองสงขลาซึ่งเปรียบเสมือนห้องรับแขกธรรมชาติที่ต้อนรับผู้มาเยือนเรื่อยมาจนปัจจุบันหาดสมิหลาอยู่ทางตอนเหนือของชายทะเลเมืองสงขลาถัดจากแหลมสนอ่อนทอดยาวไปจรดแหลมสมิหลาที่อยู่ท้ายหาดทางด้านใต้ เป็นชายหาดสวยงามน่าเดินเล่นทรายขาวละเอียด น้ำไม่ลึกมาก เล่นน้ำได้ดี ตลอดแนวจัดเป็นสถานที่พักผ่อนทางวิ่งออกกำลังกาย จุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของเกาะหนู เกาะแมวเป็นฉากหลัง มีปฏิมากรรมรูปนางเงือกนั่งอยู่บนโขดหิน อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา บริเวณแหลมสมิหลามีโขดหินขนาดย่อมยื่นลงทะเล หาดทรายขาวละเอียดมากที่เรียกว่า "ทรายแก้ว" มีป่าสนร่มรื่น จากแหลมสมิหลาสามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของ เกาะหนูเกาะแมว จนมีคำกล่าวว่าใครมาเยือนสงขลาแล้วไม่มาเยือนสมิหลาก็เหมือนมาไม่ถึงสงขลา


รูปปั้น“นางเงือกทอง” สัญลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดสงขลาตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมสมิหลา นักท่องเที่ยวนิยมจะไปถ่ายภาพคู่กับนางเงือกกันเสมอ นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นตามนิยายปรัมปราของไทยโบราณ ซึ่ง ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้บอกเล่าไว้ว่า ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย
นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 ในท่านั่งหวีผม ซึ่งได้หล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมดำ โดยฝีมือการออกแบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์จิตร บัวบุศย์ ด้วยราคา 60,000 บาทในสมัยนั้นด้วยเงินงบประมาณของเทศบาลสงขลา









จากแผ่นจารึกที่ประติมากรรมนางเงือกทอง กล่าวไว้ว่า “ รูปปั้นนางเงือกนี้ สร้างขึ้นในปี 2509 ตามดำริของ นายชาญ กาญจาคพันธุ์ ปลัดจังหวัดสงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย โดยให้ อาจารย์ จิตร บัวบุศย์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง เป็นผู้ปั้นหล่อ
จากบรอนขรมดำ โดยใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาท ตั้งชื่อว่า “ เงือกทอง ” (Golden Mermaid เป็นสัญลักษณ์ของแหลมสมิหลามาจนทุกวันนี้ นางเงือก เป็นนางในวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่ เอกกวีสมัยรัชกาลที่ 2 ( พ.ศ. 2352 - 2367 ) ตามคำบอกเล่าของขุนวิจิตรมาตรา ( สง่า กาญจนาคพันธุ์ นั้น นิทานปรัมปราไทยเรื่องหนึ่งว่า ในคืนท้องฟ้างาม ณ ชายหาดสวยแห่งหนึ่ง จะมีนางเงือกขึ้นจากทะเลมานั่งหวีผมอยู่ คืนหนึ่งมีชายหนุ่มชาวประมงไปพบเข้า นางเงือกตกใจหนีลงน้ำไป ทิ้งหวีทองคำไว้ ชาวประมงผู้นั้นเฝ้าแต่รอคอย แต่นางเงือกก็ไม่ปรากฏตัวอีกเลย”


********************************************


ตำนานที่เกี่ยวกับนางเงือก







นางเงือก (mermaid) เป็นสัตว์โลกอยู่ในทะเลในจินตนาการ มีศีรษะและลำตัวท่อนบนเป็นผู้หญิงสวย ท่อนล่างเป็นปลา ภาษาเยอรมันเรียกนางเงือกว่า meerfrau และเดนมาร์กคือ maremind โจนส์ระบุว่านางเงือกคือเทพธิดาแห่งทะเล มักปรากฏตัวขึ้นเหนือผิวน้ำ มือหนึ่งถือหวีสางผม มือหนึ่งถือกระจก มีลักษณะคล้ายไซเรน (siren - ปีศาจทะเล ครึ่งมนุษย์ผู้หญิง ครึ่งนก มีเสียงไพเราะมาก ล่อลวงคนไปสู่ความตาย ในนิทานปรัมปราของกรีก) แต่เดิมนางเงือกอาจจะเป็นธิดาของพวกเคลต์ (ชาวไอริชโบราณ) นอกจากนี้ตำนานเกี่ยวกับนางเงือกมาจากเรื่องเล่าของพวกกะลาสีด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับความหายนะของมนุษย์ (Jobes 1961: 1093) แต่โรสกล่าวว่า บางครั้งนางเงือกก็ให้คุณต่อมนุษย์ มนุษย์ที่ช่วยเหลือนางเงือกมักได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรรักษาโรคซึ่งเยียวยาไม่ได้แล้ว ได้ของกำนัล หรือนางเงือกช่วยเตือนให้ระวังพายุ (Rose 1998: 218) บางครั้งนางเงือกก็ได้รับสมญานามว่าพรหมจารีแห่งทะเล มีลักษณะสวยงาม กระจกของนางเงือกคือสิ่งที่แทนวงพระจันทร์ และผมที่สยายยาวคือสาหร่ายทะเล หรือรังสีบนผิวน้ำ (Jobes 1961: 1093) แต่บางครั้งก็กล่าวว่ากะลาสีเรือเดินทางไปในเรือนานๆเข้า ไม่ได้เห็นผู้หญิงเลยก็เกิดภาพหลอนขึ้นมา นั่นคือนางเงือกไร้ตัวตนอย่างสิ้นเชิง แต่พวกเดินทางทางเรือเกิดจินตนาการเพราะว้าเหว่คิดถึงครอบครัว
เงือกเป็นปริศนาเร้นลับหลายศตวรรษที่ผ่านมามีเรื่องเล่าขานกันว่าถ้าบนบกมีสัตว์ที่ครึ่งคนครึ่งม้า (เซนทอร์) ในน้ำก็ต้องมีครึ่งคนครึ่งปลาข้อสรุปนี้อาจเป็นสมมุติฐานที่เลื่อนลอยแต่เราเคยพบปลารูปร่างหน้าตาเหมือนหมู แต่ไม่ได้หมายความว่าในน้ำมีหมูอยู่จริง


หลักฐานที่พบจากหนังสือพิมพ์เซ้าแอฟริกัน ฟรีเทอร์เรียนิวส์ ฉบับวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1977 รายงานว่ามีคนพบเงือกตนหนึ่งขึ้นมาเหนือน้ำขณะที่ทะเลคลั่งและท้องฟ้ามีแต่ดาวมีร่างท่อนบนเป็นหญิงสาวแสนสวยลอยเหนือผิวน้ำสักพักก็จมหายไปแต่เห็นมีส่วนที่คล้ายหางของปลาชูขึ้นแล้วจมหายลงไปในทะเล ตามตำนานเกี่ยวกับเงือกนั้นกล่าวไว้ว่าเทพโอนเน่ส์เทพเจ้าแห่งท้องน้ำเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและสติปัญญามีบุตรสาว และบุตรชาย ที่มีรูปร่างคล้ายปลา ให้ดูแลท้องน้ำในมหาสมุทรและปกครองทะเลทั้งหมด เรื่องหนึ่งที่น่าประหลาดเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1608 มีคนพบคนครึ่งปลากลุ่มใหญ่ออกมาปิดปากถ้ำที่เซ็นไอเว่ส์แถบชายฝั่งเบ็นโอเวอร์เนื่องจากเรือหลายลำได้รับคำสั่งให้ไปจับคนนอกศาสนาหรือเหล่าเพแกนมาทำโทษและจัดการฆ่าทิ้งศพลงทะเล เหตุการณ์นี้ยังเป็นที่งุนงงมาถึงปัจจุบันว่าจริงหรือไม่
บางตำนานก็กล่าวไว้ว่าเงือกคือปีศาจที่คอยทำให้นักเดินเรือหลงทางและเรืออัปปางในที่สุดก็จมสู่ก้นมหาสมุทร เธอจะอยู่บนผาหินคอยหวีผมและร้องเพลงทำให้นักเดินเรือเคลิ้มด้วยเสียงและท่าทางที่ยั่วยวนของเธอทำให้หลงทิศทางและพอเรือเข้ามาใกล้เสียงเพราะเพราะที่ได้ยินนั้นก็กลับกลายเป็นเสียงหวีดร้องที่โหยหวนน่ากลัวแล้วเงือกก็จะจมเรือเหล่านั้นลง หลักฐานอีกอย่างที่สนับสนุนเรื่องเงือกมีจริงเมื่อปี1685 ได้มีชาวประมงพบซากสัตว์ที่ดูคล้ายคนครึ่งปลานอนตายเกยชายฝั่งของฟิลิปปินไปทางตะวันตก และ ปี 1741ได้มีคนพบซากของปลามีหัวเป็นคนที่ฝั่งทางตอนใต้ของออสเตเรีย แต่ที่สำคัญเมื่อ ปี 1985 ได้มีคนค้นพบปลาชนิดหนึ่งมีหัวคล้ายๆหน้าของมนุษย์ตัวเป็นปลาต่อมาได้ให้ชื่อปลาชนิดนี้ว่า

ส่วนเงือกในประเทศไทย ถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่เป็นเงือกที่ได้รับความนิยม และกล่าวขวัญกันมากที่สุดก็คือ เงือกในวรรณคดีของ สุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ที่นางเงือก (เงือกสาว) และเงือกตายาย ช่วยพาพระอภัยมณีหนีจาก ผีเสื้อสมุทรได้จนสำเร็จ และนางเงือกได้เป็นชายาของพระอภัยมณี จนมีโอรสด้วยกัน 1 องค์ ชื่อว่า สุดสาคร

ในภาษาไทยโบราณ รวมทั้งในวรรณคดีสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ มีคำว่า เงือก มาแล้ว แต่มีความหมายแตกต่างกันไป พอจะสรุปได้ดังนี้



-งู : คำว่าเงือกในภาษาไทยโบราณ และภาษาตระกูลไตบางถิ่นนั้น มักจะหมายถึง งู ดังปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ว่า "ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น" นั่นคือ เอางูมาพันรอบกาย, "เสียงเงือกงูว้าง ขึ้นลง" หมายถึง เสียงงู เหล่านี้เป็นภาษาเก่าที่ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน
-สัตว์ร้าย จำพวกผี หรือปิศาจ : ปรากฏใน
ลิลิตพระลอ วรรณกรรมสมัยอยุธยาเช่นกัน
-สัตว์ครึ่งคนครึ่งปลา : เชื่อกันว่าเงือกในลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในวรรณคดีพระอภัยมณีดังกล่าวมาข้างต้น แต่อาจมีค้นเค้าจากเรื่องอื่นก็เป็นได้






***********************************

ประมวลภาพการศึกษาแหล่งเรียนรู้
บริเวณรูปปั้นนางเงือก ณ แหลมสมิหลา
















******************************************************

อ้างอิง


http://www.wing56.rtaf.mi.th/introtour.htm
http://www.prapayneethai.com/th/tourist_attraction/south/view.asp?id=0830
http://www.siamfreestyle.com/travel-attraction/songkhla/samila-cape.html
http://202.149.101.227/student_project/Songkhla/tourist-samilar.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0
http://horoscope.thaiza.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น